วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564

อว. ดันเศรษฐกิจฐานรากภาคเหนือตอนบน หวังเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมชุมชนในยุค New Normal

 


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนการอบรมโครงการ การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ มุ่งพัฒนาทักษะองค์ความรู้ ศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองที่มีความแตกต่างและโดนเด่นตามความต้องการของตลาดในยุค New Normal


เมื่อวันนี้ 28 มีนาคม 2564 เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมือง สำหรับตลาดในยุค New Normal Creative Design Competency Enhancement of Local Craft Entrepreneurs for New Normal Market Workshop” หรือ Koyori Project 2021 พร้อมเยี่ยมชมผลงานวิจัยเด่น ด้านศิลปและวัฒนธรรม ณ ห้องประชุมโพธิพุทธ ชั้น 4 อาคารเรียนรวมและศูนย์พัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาล้านนา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (เจ็ดยอด) ตำบลช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่  โดย วช. ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการอบรมมีผู้ร่วมโครงการอบรมในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่าน เพื่อพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองให้มีความโดดเด่นตรงตามความต้องการของตลาดในยุค New Normal โดยเน้นใช้นวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ และศึกษาความต้องการทางการตลาดของสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง และช่องทางการตลาดที่เหมาะสม ให้ผู้ประกอบการหัตถกรรมในเขตภาคเหนือเพื่อสร้างรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน


ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า วช. มุ่งเน้นการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการชุมชนทั่วไป ให้สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน


โดยการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม สร้างการเรียนรู้ ฝึกอาชีพ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ โดย วช. ได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมโครงการ เรื่อง “การยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์” แก่ ดร. สุรพล  ใจวงศ์ษา แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

ด้าน ดร. สุรพล ใจวงศ์ษา เปิดเผยว่า คณะนักวิจัย ได้ร่วมกับสมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา, สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน ลงพื้นที่การอบรมเพิ่มทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการ Koyori โดยดึงเอาจุดเด่นของวัฒนธรรมในแต่ละผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผสมผสานกับแนวคิด การออกแบบแฟชั่นดีไซน์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจากไทยและต่างชาติ พัฒนาเอกลักษณ์และการเสริมคุณค่า หัตถกรรมพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนบน โดยมุ่งเน้นในการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 

1) ด้านผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ     เน้นการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการ ให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีความแตกต่างและโดดเด่นที่ตรงกับความต้องการของตลาดโดยใช้นวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตลอดห่วงโซ่ 

2) ด้านการตลาด เน้นการพัฒนาตลาดอนาคตสำหรับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมในเขตภาคเหนือตอนบนที่เหมาะสมและเพิ่มมูลค่าด้วยการใช้ digital marketing platform และการเชื่อมโยงกับการตลาดยุคใหม่ยุค new normal 

3) ด้านการสร้างแบรนด์ เน้นการเสริมสร้างเอกลักษณ์และเพิ่มคุณค่าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมด้วยทุนทางวัฒนธรรม การออกแบบสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประชาสัมพันธ์สู่ภายนอก 

4) ด้านการสร้างเครือข่าย เน้นในการเชื่อมโยงระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิต ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเพื่อการพัฒนาและเพิ่มคุณค่าของสินค้าโดยเฉพาะการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบรุ่นใหม่และผู้ประกอบการ และการศึกษาและประเมินถึงผลกระทบจากโครงการ


โดยโครงการคำนึงถึงมิติการพัฒนา 4 ด้าน คือด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากรากฐานทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบนมุ่งเน้นที่จังหวัดรอง ได้แก่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน เชียงราย เชียงใหม่ - ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ที่สามารถถ่ายทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมได้อย่างร่วมสมัย และเกิดพลังขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในภูมิภาคต่อไป


ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 88 คน ที่ประกอบด้วยอาจารย์ผู้บรรยายและที่ปรึกษาจากต่างประเทศ นักออกแบบรุ่นใหม่ ครูช่างผู้ประกอบการหัตถกรรม OTOP และกลุ่มหัตถกรรมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

"บ่าวใหญ่ เชิญยิ้ม" นำทีมนักแสดงคิวบู้สายบุญ มอบตู้กาแฟหยอดเหรียญ แก่ผู้เดือนร้อน สร้างอาชีพ เติมความฝันและอนาคตที่สดใสในวันข้างหน้า ...

 


บริษัท 24 ชั่วโมง คอฟฟี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยนายกฤชเจริญ ดำรงชัยกุล ประธานบริษัทฯ ร่วมกับรายการสะพานอาชีพ และกลุ่มนักบู้สายบุญ ร่วมกันจัดโครงการมอบตู้จำหน่ายกาแฟหยอดเหรียญอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง  จำนวน 99 ตู้ แก่ผู้ประสบปัญหาและมีความเดือดร้อนนำไปสร้างอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว เพื่อความฝันและอนาคตทีสดใสในวันข้างหน้า

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา  สิบเอกมานิตย์ ชูเยาว์ (บ่าวใหญ่ เชิญยิ้ม) ผู้ดำเนินรายการสะพานอาชีพ พร้อมด้วยกลุ่มนักบู้สายบุญ ได้แก่ นายบุญเรือน เงินเติม นายสายฝน กำมะณี  นายภาณุวัฒน์ กลิ่นขจร (แรมโบ้) นายศรีสุวรรณ อสุชีวะกำจร นายชมพู ประเสริญ และคุณกนกธร คู่วรัญญู รองประธานอำนวยการ บริษัท 24 ชั่วโมง คอฟฟี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตัวแทนนายกฤชเจริญ ดำรงชัยกุล ประธานบริษัทฯ ได้เดินทางไปที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อมอบตู้จำหน่ายกาแฟหยอดเหรียญอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงเครื่องแรก แก่ นายสายัณฆ์ สังข์ประเสริฐ ชาวบ้านบ้านหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผู้ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากต้องเลี้ยงดูบุตรสาวที่ประสบอุบัติเหตุถูกรถกระบะพุ่งชน จนได้รับบาดเจ็บจนพิการ เพื่อจะได้มีอาชีพทำกิน สามารถดูแลครอบครัวต่อไปได้อย่างมีความสุข

 สิบเอกมานิตย์ ชูเยาว์ (บ่าวใหญ่ เชิญยิ้ม) รายการสะพานอาชีพ และเพื่อนกลุ่มนักบู้สายบุญ กล่าวว่า ทางรายการสะพานอาชีพ เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นในการช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาและมีความเดือดร้อน แต่ทางรายการจะไม่ให้เป็นเงินหรือสิ่งของต่างๆ เพราะใช้ไปก็มีวันหมด พอหมดแล้วจะยังไงต่อ จะต้องขอใหม่หรือว่าหาหนทางอื่นๆ ทางเราจะมอบอาชีพให้แทน เพราะมีอาชีพแล้วก็จะสามารถต่อยอดต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมด  แล้วอาชีพอะไรล่ะที่จะเหมาะสม และไม่เป็นภาระ มีเวลาในการดูแลบุตรหลานและสามารถทำอย่างอื่นได้ไปพร้อมๆ กัน

 


ทางรายการเล็งเห็นว่า “ตู้จำหน่ายกาแฟหยอดเหรียญอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง เหมาะสมที่สุด ” เพราะติดตั้งได้ง่าย สะดวกที่สุด เพียงมีทำเลที่ตั้ง ไม่ต้องเสียเวลามาดูแล สามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นได้อีกด้วย จึงได้ไปปรึกษาและนำเสนอแก่บริษัท 24 ชั่วโมง คอฟฟี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายตู้จำหน่ายกาแฟหยอดเหรียญอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพ นายกฤชเจริญ ดำรงชัยกุล ประธานบริษัท24 ชั่วโมง คอฟฟี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เห็นว่าเป็นโครงการและเป็นกิจกรรมที่ดีมาก เป็นการช่วยเหลือสังคมอย่างจริงจัง ผู้ที่เดือดร้อนจะได้มีอาชีพ เพื่อความฝันและอนาคตทีสดใสในวันข้างหน้า อยู่ในสังคมได้ต่อไป ก็เลยยินดีร่วมสนับสนุนโครงการนี้

คุณกนกธร คู่วรัญญู รองประธานอำนวยการ บริษัท 24 ชั่วโมง คอฟฟี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัท 24 ชั่วโมง คอฟฟี่ คอร์ปอเรชั่น มีความยินดีอย่างมากที่ได้ร่วมกับทางรายการสะพานอาชีพในการมอบตู้จำหน่ายกาแฟหยอดเหรียญอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงแก่ผู้ที่ประสบปัญหาและได้รับความเดือดร้อน ตู้จำหน่ายกาแฟหยอดเหรียญอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงเป็นตู้ที่มีคุณภาพ ติดตั้งง่าย ใช้เวลาเพียงน้อยนิดก็ติดตั้งเสร็จแล้ว ที่สำคัญกาแฟ โกโก้ ของเราก็เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ไม่มีไขมันทรานส์ ตู้ของเราเวลาเสีย เราเปลี่ยนอะไหล่ให้ฟรี แล้วทุกๆ 3 ปี บริษัทเราเปลี่ยนเครื่องให้ใหม่ และที่สำคัญถ้าตู้จำหน่ายกาแฟหยอดเหรียญอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงเสียหายเนื่องจากเกิดอุบุติเหตุ เช่น รถชน หรือถูกขโมย บริษัทของเรามีทำประกันไว้กับบริษัทประกันภัยด้วย

สิบเอกมานิตย์ ชูเยาว์ (บ่าวใหญ่ เชิญยิ้ม) รายการสะพานอาชีพ กล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้ที่ประสบปัญหาและได้รับความเดือดร้อน ถ้าสนใจอยากมีอาชีพ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างมีความสุข ก็ติดต่อเข้ามาได้ที่ FANPAGE บ่าวใหญ่ เชิญยิ้ม หรือ PAGE ไทยสี่ภาคแอนด์มูฟวี่ หรือ โทร. 062-945-5499 และ 094-830-6356 หรือผู้ใจบุญท่านใดต้องการร่วมช่วยเหลือผู้ยากไร้ ร่วมกับรายการ สามารถติดต่อกับทางรายการได้ในช่องทางเดียวกัน มาร่วมกันช่วยเหลือคนดีในสังคมที่ยังต้องการโอกาส เงินเพียงเล็กน้อยของท่าน อาจเป็นโอกาสสร้างชีวิตใหม่ให้กับพวกเขา ...



วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

เอกชัย ศรีวิชัย-ฟ้า ขวัญนคร-ไพศาล ขุนหนู และน๊อต ไผ่ร้อยกอ เชื่อ! วิญญาณครูอิ๋ว-โกดำ ยังอยู่

 


นักแสดงหน้าใหม่ "ฟ้า​ ขวัญนคร" ซึ่งรับบทเป็นครูอิ๋ว​กับ "น็อต​ ไผ่ร้อยกอ" ผู้รับบทไอ้ใบ้​ เล่าเรื่องอัศจรรย์ขณะถ่ายฉากสำคัญที่พระเอกนางเอกขับรถมาด้วยกัน​ ระหว่างนั้นก็มีผีเสื้อสองตัวบินมาคู่กันและไปจับอยู่ที่หน้ารถของพระเอกคือ โกดำ (ไพศาล​ ขุนหนู)​ และนางเอกคือ ครูอิ๋ว(ฟ้า​ ขวัญนคร)​ ในระหว่างถ่ายทำบทสนทนาซึ่งใช้เวลานานมาก กว่า 3 ช.ม. ผีเสื้อก็อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ทุกคนในกองถ่ายต่างเห็นกันถ้วนหน้า​

"เอกชัย ศรีวิชัย" บอกว่าผีเสื้อนั้นคือสัญญาลักษณ์ของวิญญาณทำให้ทุกคนขนลุกไปตามๆกัน เมื่อถึงฉากที่พระเอกนางเอกจะต้องกระโดดน้ำขณะที่เตรียมตัวผูกผ้าขาวม้าจะกระโดดมองไปในน้ำก็แลเห็นปลามาเป็นคู่เช่นกัน เกือบจะทุกฉากที่ ​"ฟ้า​ ขวัญนคร" ตั้งจิตอธิษฐานว่าถ้าบทไหนฟ้าแสดงไม่เข้าถึงอารมณ์ ขอให้ดวงวิญญาณครูอิ๋วเข้าสิงร่างของเธอได้เล​ย​ ในการถ่ายทำยังมีการแสดงลิเกป่า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเลที่หาชมได้ยาก​ ต้องคอยติดตามชมกันให้ได้ เร็วๆนี้ รับประกันคุณภาพ ภาพยนตร์โดย เอกชัย ศรีวิชัย …888 MEDIA โดย บก.ตุ่น อินเตอร์ กระจายข่าวถึงแฟนๆภาพยนตร์









ชาวบ้านเกาะหลักร้อง ‘ผู้ว่าฯประจวบ’ ผวาขอทำเหมืองแร่ในเขตชุมชน...

  ชาวบ้านตำบลเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์ ร้องผู้ว่าประจวบฯ หลังบริษัททำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรม ขอทำเหมืองแร่ในเขตพื้นที่ชุมชน ชาวบ้านเกรงได้รับค...